องค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : www.joho.go.th

 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์


แผ่นพับภาษี งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ อบต.จอหอ

    รายละเอียดข่าว

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษ ตามกฎหมายที่กำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา? 1) บุคคลธรรมดา, 2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ,3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี, 4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง? 1) ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น 2) ยื่นแบบแสดงรายการ ปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใด ก็ยื่นแบบฯภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ การรับเหมา การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายน ของทุกปี เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่ 1) เงิน , 2) ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง , 3) ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน , 4) เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้, 5) เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร เนื่องจากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความเป็นธรรมในกฎหมายจึงให้แบ่งลักษณะเงินได้ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้ 1) เงินรายได้ประเภทที่ 1 ได้แก่เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน , 2) เงินรายได้ประเภทที่ 2 เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า , 3) ประเภทที่ 3 ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ , ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปั่นผล เงินส่วนแบ่งกำไร, ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน, ประเภทที่ 6 วิชาชีพอิสระ , ประเภทที่ 7 เงินรับเหมา , ประเภทที่ 8 ได้แก่เงินการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือนอกเหนือนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึง 7 แล้ว เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร 1) เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้ แต่ไม่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท 2) เงินได้พึ่งประเมินประเภทที่ 3 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะเงินได้ที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท 3) เงินได้พึ่งประเมินประเภทที่ 4 ในการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 4) เงินได้พึ่งประเมินประเภทที่ 5 กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ คือ การให้เช่าทรัพย์สิน และการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ให้ผู้มีเงินได้หักเป็นการเหมา ร้อยละ 20 วิธีเดียว 5) เงินได้พึ่งประเมินประเภทที่ 6 ในการคำนวณจากการประกอบอาชีพอิสระ การประโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60 วิชาชีพอิสระอื่น ร้อยละ 30 6) เงินได้พึ่งประเมินประเภทที่ 7 หักเป็นการเหมาร้อยละ 70 7) เงินได้พึ่งประเมินประเภทที่ 8 หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกำหนด ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง? การหักลดหย่อนในกรณีทั่วไป 1)ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศ ไทยถึง 180 วัน หรือไม่ก็ตาม 2) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท 3) การหักลดหย่อนบุตร ให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเงื่อนไขว่าบุตรที่เกิดก่อนหรือใน พ.ศ. 2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรม ก่อน พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท บุตรที่เกิดหลัง พ.ศ. 2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมในหรือหลัง พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน 4) เบี้ยประกันภัย ที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 5) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท 6) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากการกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท 7) เงินสมทบประกันสังคมตามจำนวนที่จ่ายจริง 8) ค่าลดหย่อนบิดามารดา อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้คนละ 30,000 บาท 9) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย ได้ลดหย่อนคนละ 60,000 บาท 10) เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายไป แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว 11) เงินบริจาค ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่างๆ ข้างต้น web site ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th ความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ ส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โทร 0-4437-2079 ต่อ 14

    เอกสารประกอบ

แผ่นพับภาษี งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ อบต.จอหอ
 
    วันที่ลงข่าว
: 22 มี.ค. 2554
    ผู้ลงข่าว : อบต.จอหอ